ตอนที่ 25 งานปั๊มน้ำ งานไฟฟ้า งานทาสี

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปัญหาที่คุณอาจอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง บ้าน บ้าน

108 ปัญหาการสร้างบ้าน ตอนที่ 25

คำถามเพิ่มเติม

      78.ใช้ปั๊มน้ำแบบมีหม้อพักน้ำ (Pressure Pump) พอใช้ห้องน้ำพร้อมกันหลายห้องน้ำไม่ค่อยไหล ทำไงดี?

      เพิ่มปั๊มอีก 1 ตัว (ดูการต่อปั๊มดังรูป)
การต่อแบบเพิ่มปั๊ม

      79. มีปั๊มแล้ว แต่เห็นว่า บางวันน้ำประปาก็แรงดี อยากต่อท่อให้ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดังรูป

การต่อแบบผสม

      80.สายไฟฟ้ามีขนาดอะไรบ้าง

      ขนาดของสายไฟฟ้า จะพิมพ์ไว้บนสายไฟ ทุกระยะ 1.50 เมตร ตรวจสอบได้ง่าย
      ขนาด 1.50 ตร.ม. (ตารางมิลลิเมตร) ใช้กับดวงโคมและสวิทซ์ไฟ
      นาด 2.50 ตร.ม. (ตารางมิลลิเมตร) ใช้กับเต้ารับ (ปลั๊กตัวเมีย) 1 อัน
ดังนั้น ถ้ามีปลั๊ก 3 อัน ต้องใช้สายไฟฟ้าขนาดโตกว่านี้
      สายเมนเข้าบ้าน จะใช้สายขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับ ปริมาณอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มี และขอเสนอว่าชนิดของสายเมนควรเป็นชนิด NYY จะดีกว่าชนิด THW (ราคาสูงกว่าเกือบเท่าตัว แต่ใช้งานมากกว่า โดยเฉพาะสายที่ต้องฝังดิน ถึงแม้จะอยู่ในท่อร้อยสายไฟ NYY ก็ใช้จะดีกว่า)
      ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง บังคับให้มีสายดิน (สาย Ground) ด้วย เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วจากอุปกรณ์ไฟฟ้า คุณจะได้ไม่ต้องไปอยู่วัดเร็วกว่ากำหนด

      81. งานทาสีดูแลระวังอะไรบ้าง

      เหล็กที่ต้องทาสี เช่น เหล็กโครงหลังคา ต้องทาสีกันสนิม 2 ครั้ง (สี เมื่อทาแล้วจะมีสีแดง,ส้ม,เทา) แล้วทาสีน้ำมันที่สถาปนิกระบุ อีก 2 ครั้ง (ใน SITE มักจะทากันแค่ครั้งเดียว วิธีตรวจสอบต้องมีเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น ถึงตรวจได้ ว่าชั้นความหนาสีนั้น ทาประมาณกี่ชั้น) ถ้ามีการเชื่อมเหล็ก ที่รอยเชื่อมก็จะต้องทาสีกันสนิมใหม่อีกครั้งเช่นกัน ต้องทาใหม่ 2 ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะไม่ทากัน เห็นแล้วก็กลุ้มใจกับช่างเหล็ก ยิ่งเป็นงานเชื่อมโครงหลังคา ช่างเหล็กจะทาสีกันสนิม ตอนที่ยังเป็นท่อนเหล็กยาวๆ 2 ครั้ง เมื่อเอาไปตัดแล้วเชื่อมข้างบน จึงไม่ทาสีกันสนิมใหม่อีกรอบ ตรงจุดเชื่อม หรือ ทาก็จะทาเพียงครั้งเดียว
      วงกบ หรือรอยหัวตะปู ต้องโป๊วปิดรูร่องให้เรียบร้อย และขัดให้เรียบ แล้วจึงทาสีของที่ไม่ใช้ เช่น ตะปูที่ตอกไว้เพื่อเช็กดิ่งของวงกบ ต้องถอนออก และโป๊วรูตะปูให้เรียบร้อย (เคยเห็นช่างทาสี ทาสีตะปู เนียนไปกับวงกบ เห็นแล้วก็กลุ้ม)
      ผนังฉาบปูนก็เช่นกัน บางผนัง ฉาบปูนแล้ว แต่มีคนงานแบกไม้ไปโดน ทำให้เป็นหลุม ก็ต้องโป๊ว ถ้าหลุมนั้นใหญ่ ก็ให้ช่างปูนมาแก้ไข (เคยเห็นหลุมที่ทาสี โดยไม่โป๊วเก็บงานบนผนังปูนฉาบ...กลุ้มใจกับช่างอีกตามเคย)


ติดตามผลงานอื่นๆได้จาก facebook :
http://www.facebook.com/layerhousedesign
http://www.facebook.com/layerhouse

รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต  อาคารพาณิชย์ ร้านค้า