Dry Process

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










เสาเข็มเจาะ


Bore Pile หรือ เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place Concrete Pile) หมานถึง เสาเข็มระบบพิเศษที่ต้องทำการขุดเจาะดินที่ตำแหน่งของเสาเข็ม จนถึงระดับความลึกที่ต้องการ แล้วจึงใส่เหล็กเสริม เทคอนกรีตลงไปในหลุมเจาะ เสาเข็มเจาะที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งตามลักษณะขบวนการทำงานได้ 2 ระบบ คือ
1.เสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process)
2.เสาเข็มเจาะระบบเปียก (Wet Process or Slurry Method)

เสาเข็มเจาะระบบแห้ง

 เสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) เป็นเสาเข็มเจาะที่เหมาะกับเสาเข็มที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 0.35-0.60 ม. ความลึกของหลุมเจาะไม่ลึกมากนัก ก้นหลุมเจาะยังอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง (Stiff Clay) หรือชั้นดินทรายที่ไม่มีน้ำ การนำดินขึ้นจากหลุมเจาะ ใช้เครื่องมือประเภทสว่าน (Auger) หรือ กระบะตักดิน (Bucket) นำดินขึ้นมาเท่านั้น ภายในหลุมเจาะจะต้องไม่มีน้ำ และการพังทลายของดินในหลุมเจาะควรน้อย หรือไม่มีเลย

วัสดุและอุปกรณ์

1.ขาตั้ง 3 ขา
ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้ตรงแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่นแล้วใช้กระเช้า ( BORING TACKLE ) เจาะนำเป็นรู ลึก ( PRE BORE) ประมาณ 1.00 เมตร
2.ปลอกเหล็ก
 ขนาดและความยาวของปลอกเหล็กชั่วคราวปลอกเหล็กชั่วคราว ( CASING ) จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเดียวกันกับเสาเข็มเจาะ ซึ่งแต่ละท่อนจะมีความยาว 1.20  เมตร ต่อกันด้วยระบบเกลียวในการทำงานจะตอก ปลอกเหล็กผ่านชั้นดินที่ไม่มีเสถียรภาพ ( UNSTABLE  STRATUM )  ซึ่งอยู่ด้านบน  จนกระทั่งถึงชั้นดินที่มีเสถียรภาพ ( STABLE  STRATUM )  เพื่อป้องกันการเคลื่อน พังของผนังรูเจาะ
3.กระบักตักดิน (BORING TACKLE) เมื่อกระเช้าถูกทิ้งลงไปในรูเจาะด้วยน้ำ หนักของตัวเองดินก็จะถูกอัดเข้าไปอยู่ในกระเช้า ทำซ้ำกันเรื่อยๆ จนดินถูกอัดจนเต็ม กระเช้า จึงนำขึ้นมาเทออก การเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งได้ ความลึกตามที่ต้องการ
4.ลูกตุ้ม
 ใช้ลูกตุ้มกระทุ้งคอนกรีตก้นหลุม หลังจากใส่คอนกรีตที่มีส่วนผสมค่อนข้างแห้ง เพื่อให้ก้นหลุมแน่น
5.เครื่องอักลม
เป็นเครื่องอัดอากาศขนาดใหญ่อัดอากาศผ่านท่อลมไปยังเครื่องกว้านลม เครื่องอัดลมทำหน้าที่จ่ายลมให้แก่ชุดเจาะ หรือควบคุมการทำงานของชุดเจาะระบบแห้ง
6.เครื่องกว้านลม
ทำหน้าที่ควบคุมลูกตุ้ม การกดและการถอนปลอกเหล็กถูกควบคุมด้วยแรงลม
7.กรวย และ ท่อเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตลงในหลุมเจาะ อาศัยการเทผ่านท่อนำ เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว
8.คอนกรีต
คอนกรีตที่ใช้เป็นคอนกรีตผสมโม่ มีกำลังอัดประลัยที่  28  วัน  เมื่อทดสอบโดยแท่งคอนกรีตทรงกระบอก f15 x 30 ซม. ไม่น้อยกว่า 210 กก / ซม2  ซีเมนต์ที่ใช้เป็น
( PORTLAND CEMENT TYPE 1 ) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์  อุตสาหกรรม มอก.15-2532
9.การเสริมเหล็ก
ใช้เหล็กเสริมข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD 30 ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.24-2527

0 ความคิดเห็น: