บริการงานดังนี้
|
||||||
1.
|
รับออกแบบ และเขียนแบบ
เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร
ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า
ตามความต้องการของลูกค้า
|
|||||
2.
|
แบบบ้านสำเร็จรูป
สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
|
|||||
3.
|
รับออกแบบภาพเสมือนจริง
(Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
|
|||||
4.
|
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์
(Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก
ตราสัญญาลักษณ์
|
|||||
5.
|
การออกแบบ
ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ
|
|||||
ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
|
||||||
ติดต่อ
|
คุณ บี (วิศวกร )
|
|||||
TEL
|
08 9889 4028
|
|||||
Email
|
layerhouse@hotmail.com
|
|||||
PILE
เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป Precast Concrete Pile
เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป(Precast Concrete Pile) เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่หล่อจากโรงงานผลิตโดยอาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึง (Pre-ten sion Method)แล้วเทคอนกรีตลงในแบบหล่อ
ในขณะที่แรงดึงในเส้นลวด(Tendon) ยังคงค้างอยู่
เมื่อคอนกรีตแข็งตัวจนได้กำลังอัดตามเกณฑ์แล้ว จึงดัดลวดรับแรงดึงออก
โดยปกติการถ่ายกำลังจากลวดรับแรงดึงสู่คอนกรีต คอนกรีตต้องมีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า
250 กก./ซม.²
และเมื่อคอนกรีตมีอายุ 20
วันคุณสมบัติของคอนกรีตเมื่อทดสอบด้วยรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 15x15x15ซม. ต้องมีกำลังอัดประลัยไม่ต่ำกว่า 420 กก./ซม.²
หรือเมื่อทดสอบด้วยรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว สูง 12
นิ้วต้องมีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 350 กก./ซม.² ปูนซีเมนต์ที่ใช้อาจเป็นชนิดแข็งตัวเร็ว
(Rapid Hardening Strength Cement ,Type III ) หรือ
ชนิดปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement,Type I) ผสมสารเร่งการก่อตัวโดยมีส่วนผสมของซีเมนต์ไม่น้อยกว่า
400 กก./ลบ.ม.ของคอนกรีต บ่มคอนกรีตด้วยน้ำหรือไอน้ำกำลังดึงประลัยสูงสุดของลวดต้องไม่ต่ำกว่า
17,500 กก./ซม.² ส่วนเหล็กปลอกลูกตั้งควรใช้เหล็กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 ม.ม.
สำหรับรูปร่างของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตขายอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายลักษณะ
เช่น รูปสี่เหลี่ยม, รูปตัวไอ, รูปตัววาย, รูปหกเหลี่ยม และรูปกลม เป็นต้น
ในกรณีที่การขนส่งเสาเข็มเข้าไปยังหน่วยงาน
ต้องผ่านถนนหรือซอยคดเคี้ยว เสาเข็มที่มีความยาวจำมีปัญหามากในการขนส่ง
ดังนั้นจึงต้องหล่อเป็นท่อนๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง แล้วจึงเชื่อมต่อในระหว่างการตอก
การเชื่อมต่อมี 2 วิธีคือ การใช้ปลอกเหล็กสวมใส่
และการเชื่อมประสานด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้า ข้อเสียของการใช้ปลอกเหล็กสวมใส่
คืออาจผุเนื่องจากการกัดกร่อนของสารเคมีในดิน และหากดินมีการเคลื่อนไหว(Slide) เช่นถูกแรงดันดินจากการตอกเสาเข็มต้นข้างเคียง
เสาเข็มมีโอกาสหลุดจากกันได้ง่าย แต่วิธีการเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้าทำให้รอยต่อมีความแข็งแรง
ทนทาน และโอกาสที่เสาเข็มหลุดจากกันยากกว่าแบบใช้ปลอกเหล็กสวมใส่มาก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น