บริการงานดังนี้
| ||||||
1.
| รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
| |||||
2.
|
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
| |||||
3.
|
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
| |||||
4.
|
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
| |||||
5.
|
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ
| |||||
ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
| ||||||
ติดต่อ
|
คุณ บี (วิศวกร )
| |||||
TEL
|
08 9889 4028
| |||||
Email
|
layerhouse@hotmail.com
| |||||
เสาเข็ม
ในสภาพดินรองรับฐานรากที่มีความสามารถในการแบกรับน้ำหนักได้ต่ำ เช่น ดินในกรุงเทพ และปริมณฑล การเลือกใช้ฐานรากตื้น หรือไม่มีเสาเข็ม อาคารอาจเกิดการวิบัติ หรือ ทรุดตัวในอัตราสูงจนเสียหายได้ การป้องกันปัญหาเหล่านี้ ทำโดยการเลือกใช้ฐานรากวางบนเสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ดินที่มีความมั่นคงด้านล่าง
ส่วนประกอบของเสาเข็ม
เสาเข็มมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
หัวเสาเข็ม (Head) หมายถึง ส่วนบนสุดของเสาเข็ม เป็นส่วนที่รับแรงกระแทกจากอุปกรณ์การตอกเสาเข็ม
ตัวเสาเข็ม (Foot) หมายถึง ส่วนลำตัวของเสาเข็ม มีพื้นที่มากที่สุด ทำหน้าที่รับแรงฝืดระหว่างผิวเสาเข็มกับชั้นดิน
ปลายเสาเข็ม (Tip) หมายถึง ส่วนปลายล่างสุดของเสาเข็มทำหน้าที่เจาะทะลุชั้นดิน
ปลายเสาเข็มส่วนตัดทิ้ง (Butt) หมายถึง ส่วนหัวเสาเข็มที่ถูกตัดออก หลังจากตอกเสาเข็มเสร็จแล้ว
แผ่นเหล็กหัวเสาเข็ม (Driving Head) หมายถึง แผ่นเหล็กที่ปิดทับบนหัวเสาเข็ม เพื่อรองรับน้ำหนักตกกระแทกจากลูกตุ้มเหล็ก ป้องกันเสาเข็มเสียหายขณะทำการตอก โดยทั่วไปแล้วแผ่นเหล็กถูกเชื่อมยึดด้วยเหล็กเสมอ (Dowel) ซึ่งฝังอยู่ในคอนกรีต
ตำแหน่งตัดหัวเสาเข็ม (Pile Cut Off) หมายถึง ระดับที่จะทำการตัดหัวเสาเข็มออกโดยมาก ตำแหน่งหัวเสาเข็มคือ ตำแหน่งใต้ฐานของฐานราก โดยนิยมให้หัวเสาเข็มโผล่เข้ามาในฐานรากคอนกรีตประมาณ 5 ซม.
ปลายล่างเสาเข็ม (Pile Shoe) หมายถึง วัสดุห่อหุ้มส่วนปลายของเสาเข็ม นิยมเป็นโลหะ ได้แก่ เหล็กหล่อ เพื่อให้สามารถเจาะทะลุทะลวง ชั้นทรายแน่นรวมทั้งชั้นดินดาน
ประเภทของเสาเข็ม
เสาเข็มที่ใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งตามลักษณะการรับกำลังของชั้นดินเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เสาเข็มแรงต้านทานส่วนปลาย (End-bearing Pile) เป็นเสาเข็มที่ตอกลงถึงชั้นทรายหรือชั้นดินแข็งที่แข็งแรง ซึ่งเสาเข็มจะไม่สามารถตอกจนทะลุลงไปได้ เสาเข็มแรงต้านส่วนปลายที่วางอยู่บนชั้นดินแข็งแรงเพียงพอที่รับน้ำหนักได้อย่างมั่งคง ช่วยลดอัตราการทรุดตัวของอาคาร โดยปลายของเสาเข็มควรจมอยู่ในชั้นดินแข็งอย่างน้อยประมาณ 1-3 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็ม และมีความหนาของชั้นทรายหรือชั้นดินแข็งที่มีความหนาเพียงพอด้วย
2. เสาเข็มแรงฝืด (Friction Pile) เป็นเสาเข็มที่ไม่มีชั้นดินแข็งรองรับด้านล่างปลายเสาเข็ม การรับน้ำหนักของเสาเข็มเกิดจากแรงฝืดระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินรอบเสาเข็ม ในดินที่ที่มีความเชื่อมแน่นสูง เช่น ดินเหนียว สามารถรับน้ำหนักได้ดี เหมาะกับงานก่อสร้างอาคารที่มีน้ำหนักไม่มาก และไม่คำนึงถึงการทรุดตัว เช่น การสร้างบ้านขนาดเล็ก ศาลา รั้ว เป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------------------------
วิศวกร : เจษฎาพร (บี)
โทร. 08 9889 4028
อีเมล์ : layerhouse@hotmail.com
ติดตามผลงานและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.facebook.com/layerhousedesign
http://www.facebook.com/layerhouse