ประเภทของฐานราก

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










ฐานรากลึก

ฐานรากลึกหรือ ฐานรากแบบมีเสาเข็ม(Deep or Pile Foundation) หมายถึง ฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ประเภทของฐานราก

ทั้งฐานรากชนิดตื้น และชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้างและความสามารถในการรับน้ำหนักที่มาบรรทุกได้แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งฐานรากตามลักษณะออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

               1. ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing)

               2. ฐานต่อเนื่องรับกำแพง (Continuous Footing)

               3. ฐานแผ่รวม (Combined Footing)

               4. ฐานชนิดมีคานรับ (Cantilever Footing)

               5. ฐานชนิดแผ่ (Mat Or Raft Foundation)

 1.ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing)

       ฐานแผ่เดี่ยว หมายถึง ฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาอาคารเพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัด และแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น     ในบางครั้งวิศวกรอาจกำหนดความหนาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นหรือเฉียงขึ้น(Slope) เพื่อต้านโมเมนต์ดัด   และแรงเฉือนด้วย ลักษณะของฐานแผ่เดี่ยวที่ดี ควรกำหนดให้ตำแหน่งของเสาตอม่อ อยู่ที่กลางฐาน หรือจุดศูนย์ถ่วงของฐาน(Central of Gravity)

     รูปร่างของฐานแผ่เดี่ยว นิยมออกแบบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยนผืนผ้าในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่น ฐานรากที่อยู่ชิดเขตที่ดิน ฐานแผ่เดี่ยวอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก     เรียก "ฐานรากตีนเป็ด" ทำให้เกิดแรงกระทำเยื้องศูนย์ (Eccentric Load) แรงต้านทานของดินข้างใต้ฐานรากกระจายไม่สม่ำเสมอ และมักก่อให้เกิดปัญหาฐานรากเอียงตัวในด้านตรงกันข้าม อาคารอาจทรุดได้

     กรณีที่อาคารเป็นโครงเหล็ก และต้องการใช้คานเหล็กเป็นฐานรากแทนการผูกเหล็กตะแกรง การออกแบบทำโดยวางคานเหล็กซ้อนกันเป็นมุมฉาก 2 ชั้น ยึดด้วยน๊อต(Bolt) หรือเชื่อม(Welding) และด้านบนมีฐานแผ่นเหล็ก(Base Plate) เพื่อเชื่อมหรือยึดด้วยน๊อตเข้ากับเสาตอม่อ ซึ่งน้ำหนักจากเสาตอม่อจะถูกถ่ายลงสู่คานเหล็กที่วางเรียงซ้อนกันเป็นมุมฉากด้านล่าง ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กควรกำหนดระยะห่อหุ้มต่ำสุด 10 ซม. เพื่อป้องกันความชื้น "โครงสร้างแบบนี้ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง จะใช้ก็ต่อเมื่อกรณีที่ใช้เสาตอม่อที่รับน้ำหนักมาก ๆ เพื่อถ่ายน้ำหนักจากเสาลงสู่ฐาน".

     

-------------------------------------------------------------------------------------------
วิศวกร : เจษฎาพร (บี)
โทร. 08 9889 4028
อีเมล์ : layerhouse@hotmail.com
ติดตามผลงานและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.facebook.com/layerhousedesign
http://www.facebook.com/layerhouse