Block2

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.co.th
layerhouse99@gmail.com 











อิฐ
การแบ่งประเภทของวัสดุก่อ (อิฐ) จากวิธีการผลิต

2 อิฐที่ทำด้วยเครื่อง อิฐ ที่อัดด้วยเครื่องมือกล เป็นอิฐที่มีความแน่น กรรมวิธีผลิตดีกว่าอิฐธรรมดาที่ทำด้วยมือ เรียกในวงการก่อสร้างว่า อิฐมอญ แบบอัดของอิฐชนิดนี้เป็นแบบเหล็กทำให้อิฐมีขนาดสม่ำเสมอ แรงอัดที่ใช้อัดสม่ำเสมอทำให้มีความแน่นเสมอกัน วัสดุที่ใช้ทำอิฐชนิดนี้เป็นดินเหนียวเช่นเดียวกันกับที่ใช้ทำอิฐสามัญ ดินที่มีความคุณภาพเหมาะสมในการทำอิฐมีอยู่ที่ภาคกลางแถบจังหวัดพระนครศรี อยุธยา อ่างทอ
กรรมวิธีการผลิตอิฐที่ทำด้วยเครื่อง
1) นำดินจากธรรมชาติมาผสมกับน้ำทิ้งไว้ให้ละลายตัวรวมกันประมาณ 2 วัน
2) กลับดินอีกครั้งหนึ่งแล้วเอาไปผึ่งไว้ประมาณ 2-3 วัน
3) เอาขี้เถาแกลบผสมกับดินที่ผึ่งไว้แล้วย่ำแบะกลับให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
4) นำดินที่ผสมและย่ำแล้วเข้าเครื่องบดและรีดออกเป็นส่วนโดยเครื่องรีด   เส้นดินที่รีดออกมานั้นมีขนาดหน้าตัดเท่ากับขนาดของอิฐที่ต้องการ   จากขนาดของเส้นดินนี้ถ้าต้องการให้อิฐมีขนาดเท่าใดก็สามารถเปลี่ยนหัวแบบได้ ตามต้องการ   ขณะที่เครื่องรีดดินออกมานั้นจะมีเครื่องตัดให้ขาดออกไปเป็นก้อนๆ โดยลวดขึงตึงในโครงเหล็กซึ่งติดอยู่ที่เครื่องรีด
5) นำดินที่รีดและตัดเป็นก้อนแล้วไปผึ่งในที่ที่มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ผึ่งประมาณ 3-4 วัน
6) นำเอาดินที่ผึ่งแล้วเข้าเครื่องอัดไฮดรอลิกซึ่งอัดด้วยแรงคนคนเดียว  แบบที่อัดเป็นแบบเหล็ก แข็งแรงและได้ขนาดสม่ำเสมอกัน
7) นำเอาอิฐที่ได้ไปผึ่งแดดต่ออีก ประมาณ 7-10 วัน ในที่ที่มีหลังคากันแดดกันฝนได้
8) นำก้อนดินที่อัดแล้วนำมาเรียงเข้าเตาเผาใช้เวลาในการเผาประมาณ 6 วัน 6 คืน อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาประมาณ 900 - 1000  องศาเซลเซียส
9) เมื่อครบแล้วทิ้งไว้ให้เย็นอีก 4-5 วัน ลำเลียงอิฐออกจากเตานำเข้าโกดังเก็บไว้เพื่อใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป

Block1

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com











อิฐ
การแบ่งประเภทของวัสดุก่อ (อิฐ) จากวิธีการผลิต
1 อิฐที่ทำด้วยมือ อิฐที่ทำด้วยมือนั้นขนาดของอิฐแต่ละแผ่นไม่เท่ากัน อาจมีความคลาดเคลื่อนในขนาดได้ซึ่งอาจมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น แบบไม่เท่ากัน การอัดดินเข้าแบบไม่แน่น การหดตัวของโคลนที่ใช้ทำอิฐไม่เท่ากันเพราะส่วนผสมไม่สม่ำเสมอ แต่ก็ยังใช้ในงานก่อสร้างได้เป็นอย่างดีพอสมควร และยังนิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน ขนาดอิฐที่นิยมผลิตในปัจจุบันนั้นขนาดกว้างประมาณ 7  เซนติเมตร ยาว 15  เซนติเมตร หนา 3.5 - 4  เซนติเมตร ขนาดอิฐที่ดีจะต้องมีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง บวกด้วยระยะปูนก่อ (1  เซนติเมตร) การนำไปใช้งานเพื่อก่อกำแพงผนังห้องที่ไม่รับน้ำหนัก
กรรมวิธีการผลิตอิฐที่ทำด้วยมือ
1) ดินที่จะใช้ในการผลิตนั้นจะต้องไม่มีทรายหรือดินเหนียวเจือปนมากเกินไป
2) ดินที่จะใช้ในการผลิตนั้นยิ่งเปียกฝนมากๆยิ่งดี เมื่อนำดินขึ้นมาแล้วเลือกเอาสิ่งอื่นๆที่ปนอยู่ออกให้หมด แล้วนำมาย่ำให้ละเอียดและให้เข้ากันดี ใช้แกลบปนลงไปประมาณ 10% ของปริมาตร การผสมแกลบทำให้ข้างในอิฐโปร่งเมื่อแกลบถูกความร้อน ไปป้องกันไม่ให้อิฐแตกในเวลาตากแดดและไม่ให้ติดพิมพ์แบบไม้เมื่ออัดเข้าเป็นรูปอิฐ
3) การทำให้เป็นแบบที่ต้องการ แบบที่ใช้หล่อดินเป็นแผ่นอิฐนั้นเป็นไม้ 4 ด้าน มีเฉพาะ ด้านข้างไม่มีส่วนบนและส่วนล่าง แล้วตักโคลนทีผสมเทลงไปในแบบใช้ไม้ตบให้โคลนเข้าไปอัดแน่นในแบบโดยทั่วไปแล้วปาดส่วนบนให้เรียบเสมอไม้แบบ
4) เมื่อถอดไม้แบบแล้วต้องตากแดดไว้ให้แห้งสนิท โดยทั่วไป ประมาณ 7-8 วัน
5) ใช้มีดถากแต่งก้อนดินที่จะนำเข้าเตาให้ได้รูปร่างที่เรียบสม่ำเสมอทั่วทั้งก้อน
6) การเผาอิฐจะนำก้อนอิฐมาว่างเป็นแถวโดยเว้นระยะเคียงระหว่างแถวไว้เท่าๆกัน เพื่อใส่แกลบลงไปในระหว่างแถว เทแกลบลงไปให้เติมทุกๆ ช่อง ส่วนบนของกองโรยแกลบให้ทั่วหนาประมาณ 7-10 เซนติเมตร แล้วจุดไฟให้แกลบไหม้โดยทั่ว เมื่อแกลบไหม้และยุบลงให้คอยเติมแกลบให้ได้ระดับเดิมอยู่เสมอ ให้ทำดังนี้ประมาณ 15 วัน แล้วจึงรื้อกองออกก็จะได้อิฐตามต้องการ

wood

บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










คุณสมบัติของไม้
                1.ความชื้นของไม้จะแทรกอยู่ในโพรงของเสี้ยนไม้ รวมไปถึงผนังของเสี้ยน   ถ้ามีน้ำอยู่ในโพรงเสี้ยนและในผนังเสี้ยนไม้จนเต็มจะเรียกว่าไม้มีความชื้นที่จุดเสี้ยนไม้อิ่มตัว (Fiber Saturation Point) ฃึ่งจะมีค่าประมาณ 25 %
                2.ไม้แห้งทนแรงดัดได้ดีกว่าและโก่งตัวน้อยกว่าไม้เปียกก่อนที่จะหัก
                3.การหดตัวของไม้(Shrinkage) จะหดตัวเมื่อความชื้นลดลงต่ำกว่าความชื้นที่จุดเสี้ยนไม้อิ่มตัวและอัคราการหดของเสี้ยนไม้จะเป็นปฏิภาคกับอัตราการลดของความชื้นในไม้
                4.สัมประสิทธิ์การยืดหดตัวของไม้ชนิดต่างๆในแนวแกนเสี้ยนหรือตามความยาวจะมีค่าประมาณ 3.1*10-6 ถึง 4.5*10-6/ C
                5.ด้านที่สัมผัสกับวงปี(Tangential)จะมีการหดตัวมากที่สุด
                6.ด้านตั้งฉากกับวงปี(Redial)จะมีการหดตัวลดลงเหลือ (1/2)-(2/3)
                7.ด้านยาว (End) ที่ขนานกับเสี้ยนจะมีการหดตัวน้อยมาก
                8.ตำหนิของไม้ (Defects of Wood) ที่สำคัญได้แก่ ตาไม้ (Knots) การแตกของไม้ที่ขนานกับเส้นวงปี (Checks) การแตกของไม้ทางยาวที่เกิดระหว่างเส้นวงปี (Shakes)

คุณสมบัติทางกลของไม้
                ไม้จะทนแรงอัดในแนวขนานเสี้ยนได้ดีกว่าแนวตั้งฉากกับเสี้ยน เมื่อแรงอัดอยู่ในแนวขนานเสี้ยน ความแข็งแรงของเนื้อไม้จะขึ้นอยู่กับแรงที่ทำกับเส้นใยไม้แตกหักลง เมื่อแรงอัดอยู่ในแนวตั้งฉากกับเสี้ยน แรงของไม้ขึ้นกับแรงอัดที่มาบีบให้เส้นใยนั้นแบนราบลง
                ความต้านทานแรงอัดของไม้ต่อแรงอัดในแนวตั้งฉากกับเสี้ยน ยังขึ้นอยู่กับทิศทางของแรงที่ทำกับมุมวงปีอีกด้วย ถ้าแรงอัดนั้นทำมุมตั้งฉากกับเส้นวงปี ความต้านทานที่พิกัดเส้นตรงจะมีค่าสูงสุดและมีค่ารองลงไป ถ้าแรงอัดอยู่ในแนวขนานกับวงปีและมีค่าต่ำสุดและเมื่อแรงอัดทำมุม 45 กับวงปี
แรงในแนวขนานเสี้ยนที่กระทำที่ปลายไม้
·       น้ำหนักของไม้ขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพของไม้ โดยปกติไม้อบแห้งและไม้ที่ใช้ในร่มจะคิดน้ำหนักที่ความชื้น 12 %  ไม้ที่ยังไม่อบหรือผึ่งให้แห้งขนาดน้อยกว่า  3” ของไม้ที่มีความชื้น 20% และมากกว่า 3 ของไม้ที่ความชื้นมากกว่า 30%
·       กำลังของแรงดัดสำหรับไม้แห้งอาจมีค่าสูงถึง 1.5 เท่าของไม้เปียก