ตอนที่ 16 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปัญหาที่คุณอาจอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง “บ้าน บ้าน”


บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปัญหาที่คุณอาจอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง บ้าน บ้าน

108 ปัญหาการสร้างบ้าน ตอนที่ 16

หลังคา

57. หลังคาทรงไหนดี

หลังคาทรงจั่ว
หลังคาทรงจั่ว
      1. หลังคาทรงจั่ว จะกันแดด,ฝนได้ดี 2 ด้าน (คือด้านที่มีชายคา) แต่จะดีในเรื่องการระบายความร้อนภายในโครงหลังคา หากว่าเราเจาะช่องระบายอากาศไว้ที่ด้านจั่ว
หลังคาทรงปั้นหยา
หลังคาทรงปั้นหยา
      2. หลังคาทรงปั้นหยา หรือ หลังคาทรงมะลิลาจะกันแดด ฝนได้ดีทั้ง 4 ด้าน
หลังคาทรงปีกผีเสื้อ
หลังคาทรงปีกผีเสื้อ
      3. หลังคาทรงปีกผีเสื้อสวยงานแปลกตา แต่ต้องมีรางระบายน้ำที่ตรงกลาง ซึ่งมักจะมีปัญหารั่ว
หลังคาเพิงหมาแหงน
หลังคาเพิงหมาแหงน
      4. หลังคาเพิงหมาแหงนดูไม่สวย (Look Cheap) มักใช้กับโรงรถ หรือห้องครัว
หลังคาแบน (FLAT)
หลังคาแบน (FLAT)
      5. หลังคาแบน (FLAT) ส่วนใหญ่จะเป็น ค.ส.ล. เช่น ตึกแถว และอาคารพานิชย์โดยทั่วไป

58. ชายคายื่นจากอาคารเท่าไหร่ดี

      หมู่บ้านจัดสรรในบ้านเรารวมถึงทาวน์เฮาส์ มักจะมีระยะยื่นชายคาประมาณ 50-100 เซนติเมตร ซึ่งไม่เพียงพอต่อการกันแดด กันฝน เพราะแดดในบ้านเราช่วงที่ร้อนที่สุดจะไปสิ้นสุดที่ประมาณ บ่าย 3 โมงครึ่ง ซึ่งชายคายื่น 1 เมตร ไม่พอที่จะกันแดดได้ หรือ ฝนที่มีลักษณ์เป็นมรสุม กล่าวคือมีทั้งฝนและลมแรงในคราวเดียวกัน มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ทางที่ดีควรจะมีระยะยื่นของชายคาหรือกันสาดมากกว่า 1 เมตร เช่น อาคารเรือนไทยจะมีชายคาที่ยื่นยาว และ มีค้ำยันมาช่วยรับน้ำหนักของปลายหลังคาไว้ ระยะที่เหมาะสมน่าจะเป็น 1.50 เมตร จากผนังด้านนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีองค์ประกอบของความลาดเอียงของหลังคาเป็นส่วนประกอบ

ฝ้าเพดาน

59. ควรใช้วัสดุแบบใด จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ไม่ร้อน ราคาไม่แพง ฯลฯ

      ดังได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ หลังคา ในส่วนนี้จึงขอเสนอแนะว่าถ้าห้องของชั้นบนมีห้องโถง เช่น โถงบันได ห้องน้ำ ควรจะมีฝ้าเอียงตามหลังคาจะได้ไม่ร้อน ไม่ต้องกลัวเปลืองค่าไฟฟ้า สำหรับ AIR (เพราะห้องนี้ใช้ไม่ได้ติดแอร์)
      ฝ้าเพดานที่ใช้ มักเป็นฝ้า T-Bar คือ มีเคร่าฝ้าเป็นตัว T และวางแผ่นยิปซั่มระหว่างเคร่านั้น ราคาถูก แก้ปัญหาไฟฟ้าที่เดินซ่อนในฝ้าได้ง่าย เพราะเพียงแต่ยกแผ่นยิปซั่มออกก็เปิดฝ้าได้ แต่ถ้าใช้แผ่นอื่นๆ ที่เบา ระวังแผ่นปลิวเมื่อมีลมมา ทั้งลมที่เข้ามาในห้องและในฝ้า
      ฝ้าแบบ T-Bar นี้เมื่อจะวางแผ่นฝ้า มือของช่างต้องสะอาด จะได้ไม่เปื้อนแผ่นฝ้า ซึ่งทาสีแล้ว
      ฝ้าแบบฉาบเรียบ (ยิปซั่มฉาบเรียบ) ควรเจาะช่องเปิดไว้ขนาด ขนาดอย่างน้อย 60x60 เซนติเมตร เผื่อปีนเข้าไปแก้ไขงานต่างๆ ในฝ้า เช่น สายไฟฟ้า ท่อน้ำ ฯลฯ

ติดตามผลงานอื่นๆได้จาก facebook :
http://www.facebook.com/layerhousedesign
http://www.facebook.com/layerhouse

รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต  อาคารพาณิชย์ ร้านค้า