ตอนที่ 15 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปัญหาที่คุณอาจอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง “บ้าน บ้าน”


บริการงานดังนี้
1.
รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต
อาคารพาณิชย์ ร้านค้า ตามความต้องการของลูกค้า
2.
แบบบ้านสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
3.
รับออกแบบภาพเสมือนจริง (Perspective) เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบรูปลักษณ์อาคารภายนอก หรือ แลนด์สเคป (Landscape)
4.
รับออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) เช่น ตัวการ์ตูน สื่อการเรียนการสอน รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก ตราสัญญาลักษณ์
5.
การออกแบบ ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตและออกแบบตามหลักวิชาการ

 ติดตามผลงานได้แค่ คลิก Like Box >>>
ติดต่อ
คุณ บี (วิศวกร )



TEL
08 9889 4028



Email
layerhouse@hotmail.com










  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปัญหาที่คุณอาจอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง บ้าน บ้าน

108 ปัญหาการสร้างบ้าน ตอนที่ 15

หลังคา

54. มีอะไรที่ต้องทำบ้าง

      การออกแบบหลังคาบ้าน ถ้ามีหลังคาเล็กซ้อนอยู่ หรือหลังคาเกิดเป็นตะเข้ราง ต้องก่อสร้างให้ดีมิฉะนั้นจะรั่ง เมื่อช่างมุงหลังคาเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งให้ทำฝ้า ควรตรวจดูก่อนว่ามีรอยรั่วหรือไม่ ด้วยการแหงนดูหลังคา ถ้าเห็นแสงแดดลอดได้มาก จะมีโอกาสรั่ว

55. ใช้กระเบื้องมุงหลังคาแบบไหนดี

ออกแบบหลังคา

      กระเบื้องมุงหลังคา มี 2 แบบ คือ แบบลอน ซึ่งเป็นกระเบื้องใยหิน ทำเป็นลอนใหญ่ ลอนเล็กลอนคู่ แผ่นใหญ่มาตรฐานขนาด 0.50x1.20 เมตร มุงซ้อนทับแล้วเหลือ 0.45x1.00 เมตร หรือแผ่นใหญ่ขนาด 0.50 x 1.50 เมตร มุงซ้อนทับแล้วเหลือ 0.45 x 1.30 เมตร แล้วอีกแบบเป็นกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา เช่น CPAC โมเนีย , MAGMA , V-CON ฯลฯ กระเบื้องพวกนี้สวย มักใช้ในการมุงหลังคามาก แต่ราคาค่อนข้างจะสูง  และต้องมีความลาดเอียงมาก อย่างน้อย 20 องศา มิฉะนั้นลมจะพัดน้ำฝนเข้าบ้านได้ ถ้าบ้านอยู่กลางที่โดดเดี่ยว หรือมีลมแรง ควรมุงให้มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 30 องศา ซึ่งความเป็นจริงก็ต้องมุงให้ชัน เพราะจะได้โชว์ว่าหลังคาบ้านนี้ มุงด้วยวัสดุราคาแพง

55. หลังคาควรกรุฉนวนกันความร้อนแบบไหนดี

ความสูงที่เหมาะสมของผนัง

      ความจริงถ้ามีฝ้าเพดานเป็นยิปซั่มแบบฉาบเรียบแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องกรุฉนวนกันความร้อนใดๆ เพราะยิปซั่มบอร์ดนั้นเป็นฉนวนอยู่แล้ว (ขนาดเผาไฟด้านหนึ่งของแผ่น สามารถเอามือแตะอีกด้านหนึ่งได้ โดยไม่ร้อน) แต่ที่ร้อนนั้น เพราะผนัง หรือ หน้าต่างที่เป็นกระจกมากกว่า ซึ่งอมความร้อนไว้ตอนกลางวัน และ คายความร้อนออกมาตอนเย็นและกลางคืน ที่อุณหภูมิในบรรยากาศภายนอกต่ำกว่า อุณหภูมิของผนัง
      ยกเว้นหลังคาที่เป็นดาดฟ้า จึงควรป้องกันมิให้ดาดฟ้าดูดความร้อน เช่น ติดแผ่นอลูมินั่มฟอยล์ (คลายแผ่นตะกั่วที่ใช้ในซองบุหรี่) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนความร้อน
      ดังนั้น จึงควรไปป้องกันที่ผนัง และกระจก หรือแก้ไขด้วยการยกฝ้าเพดานให้สูงมากกว่า 2.50 เมตร เช่น 3.00 เมตร เพราะเมื่อผนังหรือกระจกคายความร้อนมาในห้อง อากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ข้างบนมีความหนาประมาณ 50-80 เซนติเมตร คนสูงประมาณ 1.70 เมตร ถ้าฝ้าเพดานสูงจากพื้น 2.50 เมตร คนก็จะรู้สึกร้อน จึงควรยกฝ้าเพดานให้สูงกว่านี้ และมีทางระบายความร้อนที่รวมกันอยู่บนห้องให้ออกจากห้องได้ เช่น ติดพัดลมดูดอากาศ ดูดความร้อนจากห้อง เข้าฝ้า แต่การยกฝ้าดานให้สูงขึ้น ก็เปลือง AIR (ได้อย่างเสียอย่าง)


ติดตามผลงานอื่นๆได้จาก facebook :
http://www.facebook.com/layerhousedesign
http://www.facebook.com/layerhouse

รับออกแบบ และเขียนแบบ เช่น บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮาส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ออฟฟิต  อาคารพาณิชย์ ร้านค้า